สิทธารถะ บรรลุธรรมพบความสงบ
เพราะเขาเรียนรู้ธรรมชาติที่แท้ของตน
เรียนรู้จากกัลยาณมิตร และเรียนรู้จากแม่น้ำ
เมื่อปี ค.ศ. 1925 เฮสเสเขียนไว้ในจดหมายฉบับหนึ่ง มีใจความว่า
“. . . ยกเว้นฉากของเหตุการณ์แล้ว สิทธารถะ ก็เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่มีความเป็นยุโรปมาก สารที่ สิทธารถะ สื่อเริ่มต้นที่ความเป็นปัจเจก ซึ่งเสนอออกมาอย่างจริงจังยิ่งกว่าคำสอนใดๆ ของเอเชีย . . .
สิทธารถะ แสดงออกถึงการปลดปล่อยตัวของผม ให้พ้นไปจากความคิดแบบอินเดีย เส้นทางปลดปล่อยตัวเองจากความเชื่อทั้งปวงนำมาสู่ สิทธารถะ และจะดำเนินสืบเนื่องต่อไปตราบเท่าที่ผมมีชีวิตอยู่”
["สิทธารถะ" เป็นเรื่องราวการออกบวชของมานพสองสหายจากตระกูลพราหมณ์ คือ "สิทธารถะ" กับ "โควินทะ" ทั้งคู่ได้บำเพ็ญพรตมุ่งมั่นเพื่อแสวงหาสัจธรรม กระทั่งได้พบพระพุทธเจ้า "โควินทะ" ตัดสินใจบวชในพระพุทธศาสนา แม้ตั้งใจปฏิบัติและยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธองค์ แต่หาได้ตระหนักในสัจธรรม เข้าถึงการบรรลุธรรมอันเป็นเป้าหมายสูงสุดไม่ ในขณะที่ "สิทธารถะ" ปฏิเสธที่จะเดินตามรอยพระพุทธองค์ เขาได้หันไปเรียนรู้ในทางโลก แสวงหาธรรมและสัจธรรมและสัจจะด้วยวิถีทางของเขาเอง แต่กลับบรรลุธรรมที่ตั้งใจไว้ได้ในที่สุด]