ตะกร้าสินค้าของคุณ |
---|
ไม่มีสินค้าในตะกร้า |
สินค้าขายดี |
---|
สิเน่หาส่าหรี (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5)
540
432 บาท
เจตน์ ภาค มนต์ฮันนีมูน โดย : กลีบลำ 170 บาท SPACE ช่องว่างระหว่างเรา (Reprint) 359 323 บาท |
เฟสบุ๊ค |
---|
ไวษณวี (2 เล่มจบ) / ทมยันตี (สนพ. บ้านวรรณกรรม) / ใหม่ |
---|
|
รายละเอียดสินค้า |
---|
%22มนุษย์เชื่อทุกเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์บอก แต่มนุษย์ไม่ยอมเชื่อพระพุทธเจ้า ทั้งๆ ที่ท่านรับสั่งทิ้งไว้แล้วว่า อย่าเชื่อโดยไม่พิสูจน์ มนุษย์ไม่พิสูจน์แล้วก็ไม่เชื่อ ผู้เขียนพิสูจน์แล้วเชื่อโดยไม่มีข้อสงสัย แต่ปัญหาคือ ทำอย่างไรจะอธิบายต่อคนอื่น การผูกในรูปนวนิยาย พยายามกระทำในหลายแง่มุม เช่น ฌาน จิตา จนกระทั่งมาถึงมายา%22 ฌาน นำความเชื่อแห่งพระพุทธศาสนา มาอธิบายด้วยแนวฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ ในขณะที่ จิตา (JITA) ซึ่งมีรากเหง้าเป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ป่าช้า ได้อธิบายเรื่อง "พลังแห่งจิต" ให้เป็นเรื่องง่ายที่ผู้สนใจจะทำความเข้าใจ %22จิตเท่านั้นเป็นใหญ่ เป็นประธาน ทุกขันธ์แห่งกายหยาบแตกหัก กลับคืนสู่ธาตุเดิม พลังแห่งจิตเท่านั้นยังคง มนุษย์รู้จักสิ่งอื่นทั่วถ้วน หาก "กาย" ตนสิหารู้ไม่ สิ่งใดเล่าซ่อนอยู่ สิ่งใดทรงอานุภาพ วัฏฏะ วนเวียน เกิด-ดับ เพราะจิตที่ข้องด้วยตัณหายึดเหนี่ยว และกิเลสนำให้เศร้าหมอง กุญแจที่จะไขพลังนั้นมาใช้มีประการเดียว จิตา! ทมยันตีมีความตั้งใจแน่วแน่ว่า ก่อนตนเองจะ "กลับบ้าน" จะพยายามถ่ายทอดความรู้ในพุทธปรัชญาและเทว ศาสตร์ที่พอมีอยู่บ้าง ลงในรูปของนวนิยายเท่าที่สติและปัญญาพอมีพอทำ การอธิบายในศาสตร์ทั้งสองจึงเป็นเรื่องที่หนักใจพอสมควร ทว่าได้พยายามกระทำ เพราะอานิสงส์จะบังเกิดทั้งผู้อ่านและผู้เขียน และนวนิยายเรื่อง "มายา" ได้ทำหน้าที่สื่อ พุทธปรัชญาในหัวข้อง "วิญญาณคืออะไร" วิทยาศาสตร์ได้สอนปรัชญา ที่ใดมี "ผล" จะสาวไปหา "เหตุ" จนได้ เมื่อรู้ "ทุกข์" ศาสนาให้หาเหตุแห่งทุกข์ ไม่ต้องการให้มีทุกข์ ต้องดับที่เหตุ วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ผสมผสานให้ข้อพิสูจน์แก่กัน หากมองตนและสรรพสิ่งรอบตนว่า เป็นแค่กลุ่มก้อนแห่งเหตุการณ์ ตามทฤษฎีควอนตัม ทางฟิสิกส์ โลกมนุษย์เป็นแค่ สนามพลังงาน เป็นธุลีของธาตุ เป็นอนุภาค มารวมกัน หากแยกสลายย่อยลง จำนวนที่ได้คงไม่เกินสองลิตรเท่านั้น นี่เอง พระพุทธศาสนา จึง ย้ำคำว่า "ว่าง" ไม่มีอะไรในโลกมี คุณค่าพอจะทำให้สุข ทุกข์ ภาพ...เหตุการณ์ ที่อุบัติเป็นแค่ มายา! จวบจนมาถึงบัดนี้ วันนี้ ทมยันตี นำนวนิยายแห่งธรรม "ไวษณวี" ที่น้อมนำแก่นแห่งพุทธปรัชญาและเทวศาสตร์ มาสานและเสริม เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้สนใจในสองศาสตร์นี้ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น มนุษย์ทุกคนเมื่อจะเกิด เขารู้แล้วว่า เขารับหน้าที่สำคัญติดตัวมาด้วยประการหนึ่ง ไม่ว่าเป็นคนดี-เลว-รวย-จน รับหน้าที่เสมอกันหมดคือ "ตาย" คนทุกคนจึงเป็นนักโทษประหาร รอวันถูกประหารตามคำพิพากษาที่ยาว-สั้น แตกต่างกัน รวมทั้งวิธีถูกประหาร สถานที่ถูกประหารก็แตกต่างกัน สิ่งที่เสมอกันคือ "ตาย" เท่านั้น แล้วจะกลัวความตายของเรา ของคนอื่นไปทำไม ใครจะทำหน้าที่นี้ก่อน เขาก็ทำไป เรารอแต่หน้าที่ของเรา ระวังอย่างเดียว ระวังหลังความตาย เส้นทางที่จะไปต่างหาก...ไม่เหมือนกัน ทุกข์ที่สุดของมนุษย์ คือการพลัดพราก แต่เคยมีมนุษย์คนใดบ้าง ที่ไม่เคยพลัดพราก ทุกข์ อันเป็นสิ่งที่ทนได้ยาก จะแปรเปลี่ยนเป็น "สิ่งทนได้" เมื่อรู้เหตุแห่งทุกข์ ต่อเมื่อ "รู้" ถึงมรรคาแห่งการดับทุกข์ และเดินไปตามมรรคานั้น จักรู้จักคำว่า "วาง" เมื่อใดวาง ฤาจะหนักด้วยทุกข์ต่อไป %22ไม่รู้จักทุกข์ ไยรู้จักคำว่า "พ้นทุกข์" ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คืออริยสัจ ผู้จะเป็นอริยบุคคลต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่มีใครยัดเยียดความเป็น "อริยะ" ให้ใครได้ ไม่มีใครหยิบทุกข์จากหัวใจใครทิ้งให้ได้ ทั้งหมดต้อง "วาง" จากจิตตน! คนที่รัก กำลีงย่างมาบนมรรคาแห่งการพลัดพราก แม้ห่วงใย หากไวษณวีมิได้ทุกข์ต่อความห่วงใยอันนั้น ชี้แนะ บอกหนทางแล้ว ได้ ฤามิได้ ก็ปล่อยวาง หากบัดนี้ปลอดโปร่ง เพราะจิตวิญญาณผู้เป็นที่รักแต่ละคน ปรากฏแสงสว่างแห่งปัญญาเป็นลำดับ ใครทำ ใครรู้ ใครได้ แม้จะยังเนื่องด้วยรัก ทำให้ทุกคนผูกพันติดต่อกันมาดุจลูกโซ่ ทว่าเส้นทางที่พากันไปถูกทางแล้ว "ภาระ" ในโลกมนุษย์ "จบ" แล้ว ความประภัสสรแห่งจิต ยิ่งทำให้ "ราศี" อำไพ วันนี้แม้แต่คำว่า "หวังดี" ยังต้องปลดวางลงทั้งหมด คนวางสิ่งแบกหาม คนปลดการร้อยรัด ย่อมเดินทาง "ตัวเบา" การอยู่ในโลกมายา มิใช่สิ่งสำคัญ "การกลับ" ต่างหากสำคัญ จะมาจากที่มืดฤาสว่าง ไม่เทียบเท่าการกลับไปสู่ความสว่าง! มนุษย์ทุกคนต้องตรวจกรรมะแห่งตนที่ต้องชดใช้ หนี้อื่นอาจหลบหลีกได้ แต่ต้องมิใช่ "หนี้กรรม" มนุษย์มีกรรมะเป็นของตน การฝืนกระแสแห่งกรรม ฤากระทำได้นาน ทุกอย่างล้วน...มายา สัจธรรมต่างหากที่มีอยู่จริง ปราณ-ศานติ จริงแท้คือ การหายใจสงบ รำงับ ละเอียดอันเข้าสู่ ฌาน ฌาน จิตา มายา ไวษณวี คือนวนิยายแห่งธรรม คือภารกิจของผู้เขียน อันพึงมีต่อพระพุทธศาสนา คืออานิสงส์ร่วมกันทั้งผู้ให้-ผู้รับ |
สอบถามหรือแสดงความคิดเห็น |
---|